คอมพิวเตอร์ เป็นอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์อย่างหนึ่ง ซึ่งไม่สามารถทำงานด้วยตนเองได้ แต่จะสามารถทำงานได้ตามชุดคำสั่งในโปรแกรมที่ป้อนเข้าสู่เครื่อง
เมนูหลัก แนะนำวิธีใช้งาน มุมความรู้ ประวัติผู้จัดทำ

วีดีโอภายนอกที่น่าสนใจ
กระบวนการเขียนโปรแกรม

การเริ่มต้นเขียนโปรแกรมที่ดีควรทราบถึงจุดประสงค์ หรือเป้าหมายของการสร้าง พัฒนาโปรแกรม จากนั้นจึงนำจุดประสงค์ของการพัฒนามาคิดวิเคราะห์ในวิธีต่างๆ ได้แก่ การนำเข้าข้อมูล การประมวลผล การแสดงผลลัพธ์ เป็นต้น

การทำงานของนักพัฒนาซอฟต์แวร์

ซอฟต์แวร์จะไม่สามารถทำงานได้ หากไม่มีการเขียนคำสั่งเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน ซึ่งผู้ที่เขียนคำสั่งการทำงานให้กับคอมพิวเตอร์ คือ นักพัฒนาซอฟต์แวร์

หลักการเขียนอ้างอิงของโครงงาน

     การอ้างอิง หมายถึง การบอกรายละเอียดของแหล่งสารนิเทศที่ใช้อ้างอิงในการศึกษาค้นคว้า ซึ่งนำเสนอในรูปของรายงาน ภาคนิพนธ์ บทความ หนังสือวิชาการ และรายงานการวิจัย

ความสำคัญของการอ้างอิง
1. เพื่อให้ผู้อ่านหรือผู้ที่มาศึกษาค้นคว้า สามารถตรวจสอบหรือติดตามศึกษาเพิ่มเติมได้
2. เพื่อให้เกียรติแก่ผู้แต่งสารนิเทศที่ใช้อ้างอิง
3. เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือแก่ผลงาน ให้กับผู้ที่ได้อ่าน

วิธีเขียนอ้างอิงและบรรณานุกรม จะปรากฏอยู่ทั้งส่วนเนื้อหาและท้ายเล่ม คือ 1. ส่วนเนื้อหา คือ รายการอ้างอิง (Reference List) ซึ่งจะมีรูปแบบการอ้างอิงที่ใช้อยู่ทั่วไป 3 แบบ ได้แก่ แบบเชิงอรรถ แบบแทรกในเนื้อหา และแบบอ้างอิงท้ายบท
2. ส่วนท้ายเล่ม คือ บรรณานุกรม (Bibliography) ซึ่งได้แก่ รายละเอียดของแหล่งสารนิเทศที่ใช้อ้างอิงในเนื้อหาทุกรายการ ทั้งที่ปรากฏชัดเจนโดยเขียนอ้างอิงไว้ และส่วนที่ไม่ปรากฏชัดเจน แต่อาจจะเป็นเพียงการรวบรวมความคิดหลายๆ แนว แล้วนำมาเรียบเรียงใหม่

หมายเหตุ รูปแบบการเขียนอ้างอิงและบรรณานุกรมในเอกสารนี้ จะอ้างอิงตามแบบ APA Style

วิธีเขียนอ้างอิง
   1. การอ้างอิงแบบเชิงอรรถ (Footnote) เป็นการอ้างอิงที่แยกการอ้างอิงออกจากเนื้อหาโดยเด็ดขาด โดยให้อยู่ส่วนล่างสุดของหน้ากระดาษ แต่ละหน้า
   2. การอ้างอิงท้ายบท เป็นการอ้างอิงที่สะดวก เนื่องจากไม่ต้องพะวงการกะระยะเนื้อที่แต่ละหน้าของบทนิพนธ์ เพื่อเผื่อเขียนอ้างอิงเหมือนการอ้างอิงแบบเชิงอรรถ เพราะการอ้างอิงทั้งหมดจะไปรวมอยู่หน้าสุดท้ายของแต่ละบท
   3. การอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา เป็นการอ้างอิงที่อยู่รวมกันกับเนื้อหา ไม่แยกกันคนละส่วนเหมือนการอ้างอิงแบบเชิงอรรถ หรือแบบการอ้างอิงท้ายบท ทำให้รูปแบบการอ้างอิงกะทัดรัด และยืดหยุ่นกว่า เพราะสามารถเขียนชื่อผู้แต่งให้กลมกลืนไปกับเนื้อหาได้ หรือจะแยกใส่ไว้ในวงเล็บก็ได้
การอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา (มหาวิทยาลัยบูรพา, 2544; American Psychological Association, 2001)

หลักเกณฑ์การอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา
   1. การอ้างอิงจะมีชื่อผู้แต่ง และปีที่พิมพ์ อยู่ในวงเล็บ แต่ถ้ามีชื่ออยู่แล้ว ให้ใส่เฉพาะปีที่พิมพ์ในวงเล็บ เช่น
     - ศักดิ์สิทธิ์ (2552) กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกมักเกี่ยวข้องกับแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรง
     - เปลือกโลก ประกอบด้วยแผ่นขนาดใหญ่ 6 - 10 แผ่น (ศักดิ์สิทธิ์, 2552)

2. หลักเกณฑ์การลงรายชื่อผู้แต่ง
2.1 คำนำหน้าชื่อตามปกติให้ตัดออก ได้แก่ นาย นาง นางสาว
2.2 ผู้แต่งที่มีฐานันดรศักดิ์ บรรดาศักดิ์ ยศทางตำรวจ ยศทางทหาร และตำแหน่งนักบวช นำหน้าชื่อ ให้คงไว้ตามปกติ โดยไม่ตัดทิ้งหรือย้ายที่ เช่น
     - ม.ล. ปิ่น มาลากุล
     - เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี
     - คุณหญิงเต็มสิริ บุณยสิงห์
     - พลตรี ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช
     - Sister Dorothy Smith
2.3 ตำแหน่งทางวิชาการ (คำระบุบอกอาชีพ) ให้ตัดทิ้ง เช่น
     - ศาสตราจารย์ ดร. วิษณุ เครืองาม ลงว่า วิษณุ เครืองาม
     - นายแพทย์ประเวศ วะสี ลงว่า ประเวศ วะสี
2.4 ผู้แต่งชาวต่างประเทศให้เขียนเฉพาะนามสกุล เช่น
     - Smith R Solvey ลงว่า Solvey.
     - Petit M Bretty ลงว่า Bretty.
2.5 หนังสือที่ออกในนามองค์กร สมาคม หรือหน่วยงานต่างๆ สามารถใช้ชื่อหน่วยงานนั้นเป็นชื่อผู้แต่งได้ เช่น กองการสังคีต ธนาคารศรีนคร จำกัด เป็นต้น
2.6 ถ้าผู้แต่งมี 2 คน ให้ลงชื่อทั้งหมด ระหว่างชื่อให้คั่นด้วย “และ” หรือ “&” แล้ว Comma (,) เช่น
     - (สมศักดิ์ และอำนาจ, 2551)
     - (Kosslyn & Barrett, 1996)
2.7 ถ้าผู้แต่งมี 3-5 คน ในครั้งแรกที่ลงรายการอ้างอิง ให้ลงชื่อทั้งหมด และถ้ามีการกล่าวซํ้าให้ลงเฉพาะชื่อคนแรก และใส่ “และคณะ” หรือ “et al.” และถ้าในย่อหน้าเดียวกันมีการอ้างอิงมากกว่า 1 ครั้ง ให้ลงเฉพาะชื่อคนแรก และใส่ “และคณะ” หรือ “et al.” แต่ไม่ต้องลงปีที่พิมพ์ เช่น
     - (กมล, อำนาจ, สุชาติ, และศุภกิจ, 2549) กรณีอ้างอิงครั้งแรก
     - (กมล และคณะ, 2549) กรณีอ้างอิงครั้งที่ 2 ของบทความ แต่เป็นครั้งแรกของย่อหน้า
     - (กมล และคณะ) กรณีอ้างอิงครั้งที่ 2 เป็นต้นไป ของย่อหน้า
2.8 ถ้าผู้แต่งตั้งแต่ 6 คน ขึ้นไป ให้ลงเฉพาะชื่อคนแรก และใส่ “และคณะ” หรือ “et al.” เช่น
     - ปราณี วิมณ, ศักดิ์ดา สุวิทย์, มณี ดวงแดง, ฉัตร ดีมาก, มณฤดี ศียากัลป์, อุทิศ แสวงโชค, 2544 ลงเป็น (ปราณี และคณะ, 2544)
     - Smith, Jones, Bloggs, Ashe, Fauci, Wilson, 2000 ลงเป็น(Smith et al., 2000)
2.9 ถ้าผู้แต่งเป็นองค์กรหรือหน่วยงานที่มีตัวย่อ ให้กำกับตัวย่อไว้ในวงเล็บเหลี่ยมด้วย เช่น
     - (สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ [สวทช], 2550) กรณีอ้างอิงครั้งแรก
     - (สวทช, 2550) กรณีอ้างอิงครั้งที่ 2 เป็นต้นไป
2.10 ในกรณีที่ไม่สามารถหาสารนิเทศต้นฉบับของวัสดุอ้างอิงได้ ให้ระบุแหล่งสารนิเทศต้นฉบับก่อน แล้วตามด้วยคำว่า “อ้างถึงใน” สำหรับสารนิเทศภาษาไทย และ “as cited in” สำหรับสารนิเทศภาษาอังกฤษ เช่น
     - สารนิเทศต้นฉบับ คือ ทองฉัตร หงส์ทอง, 2517
สารนิเทศรอง คือ นวลจันทร์ ผ่องอำไพ, 2542
เขียนเป็น
(ทองฉัตร อ้างถึงใน นวลจันทร์, 2542)
     - สารนิเทศต้นฉบับ คือ Regier, A. A., Narrow, W. E., & Rae, D. S., 1990
สารนิเทศรอง คือ Coltheart, M., Curtis, B., Atkins, P., & Haller, M., 1993
ลงเป็น
(Regier, Narrow, & Rae as cited in Coltheart, Curtis, Atkins, & Haller, 1993)

สรุปหลักเกณฑ์ทั่วๆ ไปของการอ้างอิงทั้ง 3 แบบ
1. เมื่อตัดสินใจเลือกใช้การอ้างอิงแบบใด ให้ใช้แบบนั้นไปจนจบบทนิพนธ์เรื่องนั้นๆ จะใช้หลายๆ แบบผสมกันไม่ได้ อีกทั้งจะต้องเป็นแบบเดียวกันกับบรรณานุกรม
2. รายชื่อวัสดุอ้างอิงทั้งหมด จะต้องไปปรากฏอยู่ในบรรณานุกรม จะขาดไปไม่ได้แม้แต่รายการเดียว

วิธีเขียนบรรณานุกรม
   รูปแบบการเขียนบรรณานุกรมของแต่ละที่อาจจะแตกต่างกัน การเลือกใช้รูปแบบใดก็เป็นสิทธิ์ของผู้เขียนบทนิพนธ์ที่จะเลือกใช้ แต่เมื่อตัดสินใจใช้แบบใดแล้ว ก็ควรเป็นแบบเดียวกันทั้งหมด
รูปแบบการเขียนบรรณานุกรมตามแบบ APA Style (American Psychological Association, 2001; Delaney, 2009)
1. วารสารที่เป็นภาษาไทย: จากการออนไลน์และรูปเล่ม (ถ้าเป็นออนไลน์ต้องใส่ค่า Digital Object Identifier; DOI)

ชื่อ ชื่อสกุล. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง. ชื่อวารสาร, ปีที่(ฉบับที่), หน้า. Doi: xxxxxx

เช่น
ศิริลักษณ์ วงษ์วิจิตสุข, และฉัตรปวีณ์ จรัสวราวัฒน์. (2551). การแก้ปัญหาระดับตะกั่วในเลือดสูง.
ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม, 18(2), 26-31.
2. วารสารที่เป็นภาษาไทย: จากฐานข้อมูลที่ ไม่มี ค่า Digital Object Identifier; DOI

ชื่อ ชื่อสกุล. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง. ชื่อวารสาร, ปีที่(ฉบับที่), หน้า. เข้าถึงได้จาก ชื่อฐานข้อมูล.

เช่น
กุศุมา แก้วอินทะจักร์, คิน เลย์ คู, และกนก รัตนะกนกชัย. (2550). การทำให้ endoxylanase จาก
alkaliphilic Bacillus sp. สายพันธุ์ BK บริสุทธิ์และสมบัติในการยึดเกาะและย่อย พอลิแซ็กคาไรด์ที่ไม่ละลายนํ้า. Thai Journal of Biotechnology, 8(1), 33-43. เข้าถึงได้ จาก ฐานข้อมูลวิจัยไทย.
3. วารสารที่เป็นภาษาอังกฤษ: จากการออนไลน์และรูปเล่ม (ถ้าเป็นออนไลน์ต้องใส่ค่า Digital Object Identifier; DOI)

ชื่อสกุล, อักษรย่อตัวแรกของชื่อต้น. อักษรย่อตัวแรกของชื่อกลาง. (ปีที่พิมพ์).
      ชื่อเรื่อง. ชื่อวารสาร, Volume(Issue), หน้า. doi: xxxxxx

เช่น
Cohen, B. S., Bronzaft, A. L., Heikkinen, M., Goodman, J., & N´adas, A. (2008). Airport- related air pollution and noise. Journal of Occupational and Environmental Hygiene, 5, 119-129. doi: 10.1080/15459620701815564
4. วารสารที่เป็นภาษาอังกฤษ: จากฐานข้อมูลที่ไม่มี ค่า Digital Object Identifier; DOI

ชื่อสกุล, อักษรย่อตัวแรกของชื่อต้น. อักษรย่อตัวแรกของชื่อกลาง. (ปีที่พิมพ์).
      ชื่อเรื่อง. ชื่อวารสาร, Volume(Issue), หน้า. Retrieved from ชื่อฐานข้อมูล database.

เช่น
Strauss, W. M., Malaney, G. W., & Tanner, R. D. (1984). The Impedance Method for MonitoringTotal Coliforms in Wastewaters. Folia Microbiologica, 29(2), 162-169. Retrieved from SpringerLink database.
5. หนังสือที่เป็นภาษาไทย

ชื่อ ชื่อสกุล. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง. (ครั้งที่พิมพ์). เมืองที่พิมพ์: ผู้รับผิดชอบในการ
เช่น
เกรียงศักดิ์ อุดมสินโรจน์. (2542). การบำบัดนํ้าเสีย: Wastewater treatment. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สยามสเตชั่นเนอรี่ซัพพลายส์.
6. หนังสือที่เป็นภาษาอังกฤษ

ชื่อสกุล, อักษรย่อตัวแรกของชื่อต้น. อักษรย่อตัวแรกของชื่อกลาง. (ปีที่พิมพ์).
ช     ชื่อเรื่อง. ครั้งที่พิมพ์. เมืองที่พิมพ์: ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์.
เช่น
Brauer, R. L. (2005). Safety and health for engineers. (2nd ed.). Hoboken, NJ: John Wiley & Sons.
7. เวปไซด์ภาษาไทย

ชื่อ ชื่อสกุล. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง. วันที่ค้นข้อมูล วันที่ เดือน ปี, จาก เจ้าของเวป
ไซด์ เวปไซด์: http://www.xxxxxxxxxxxx
เช่น
สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม. (2552). งานรณรงค์ สถานีขนส่งสะอาด ป้องกันการระบาดไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ ชนิด A H1N1. วันที่ค้นข้อมูล 22 มิถุนายน 2552, จาก กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เวปไซด์: http://203.157.64.26/ewtadmin/ewt/env /ewt_news.php?nid=82&filename=index
8. เวปไซด์ภาษาอังกฤษ

ชื่อสกุล, อักษรย่อตัวแรกของชื่อต้น. อักษรย่อตัวแรกของชื่อกลาง. (ปีที่พิมพ์).
     ชื่อเรื่อง. Retrieved เดือน วันที่, ปี, from เจ้าของเวปไซด์ Web site: http://www.xxxxxxxxxxxx
เช่น
United States Environmental Protection Agency. (n.d.). Organic gases: Volatile organic compounds-VOCs. Retrieved June 22, 2009. from http://www.epa.gov/iaq /voc.html
9. วิทยานิพนธ์ที่เป็นภาษาไทย

เช่น
ไกรศักดิ์ สินโรจน์. (2542). การบำบัดนํ้าเสียด้วยเปลือกมังคุด. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร มหาบัณฑิต,
     มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ชมภูนุช วรรณาลักษ์. (2550). การศึกษาความเมื่อยล้าในคนงานเก็บค่าทางด่วน. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตร      ดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล.
10. วิทยานิพนธ์ที่เป็นภาษาอังกฤษ

ชื่อสกุล, อักษรย่อตัวแรกของชื่อต้น. อักษรย่อตัวแรกของชื่อกลาง. (ปีที่พิมพ์).
     ชื่อเรื่อง. ระดับวิทยานิพนธ์, ชื่อมหาวิทยาลัย, รัฐที่มหาวิทยาลัยตั้งอยู่.

เช่น
Wilfley, D. E. (1989). Interpersonal analyses of bulimia. Doctoral dissertation, University of Missouri,
     Columbia.

Almeida, D. M. (1990). Fathers’ participation in family work. Master’s thesis, University of Victoria,
     Victoria, British Columbia, Canada.

หมายเหตุ - ถ้าเป็นมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา ให้ใส่เฉพาะ ชื่อรัฐ ที่มหาวิทยาลัยตั้งอยู่ ต่อจากชื่อมหาวิทยาลัย - ถ้าเป็นมหาวิทยาลัยในประเทศอื่น ให้ใส่ ชื่อเมือง, ชื่อรัฐ, ชื่อประเทศ ที่มหาวิทยาลัยตั้งอยู่ ต่อจากชื่อมหาวิทยาลัย
11. หนังสือพิมพ์ภาษาไทย
ชื่อ ชื่อสกุล. (วัน เดือน ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง. ชื่อหนังสือพิมพ์, หน้า.
เช่น
สาธิต บุษบก. (22 มิถุนายน 2552). พบฟอสซิลเต่าสกุลใหม่ และชนิดใหม่ของโลกในไทย. ไทยรัฐ, หน้า 5.
12. หนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ
ชื่อสกุล, อักษรย่อตัวแรกของชื่อต้น. อักษรย่อตัวแรกของชื่อกลาง. (ปี, เดือน วันที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง. ชื่อหนังสือพิมพ์, หน้า.
เช่น
Di Rado, A. (1995, March 15). Trekking through college: Classes explore modern society using the
     world of Star trek. Los Angeles Times, p. A3.
13. กฎหมาย
“ชื่อกฎหมาย” (ปี, วัน เดือน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ตอนที่. หน้า.
เช่น
“ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและหลักสูตรการฝึกอบรม ความ ปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ. 2549” (2549, 30 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 123 ตอนที่ 125 ง. หน้า 55-64.

หลักเกณฑ์การเขียนบรรณานุกรม
1. เขียนคำว่า “เอกสารอ้างอิง” ไว้กลางหน้ากระดาษ หากเป็นบทนิพนธ์ภาษาอังกฤษให้ใช้คำว่า “References”
2. เมื่อเริ่มต้นเขียนให้ชิดขอบกระดาษที่เว้นไว้ประมาณ 11/2 นิ้ว หากบรรทัดเดียวไม่จบ บรรทัดทัดไปให้ย่อเข้ามา 7 ช่วงตัวอักษร
3. เมื่อรวบรวมแหล่งสารนิเทศที่อ้างอิงไว้ครบถ้วนทั้งหมดแล้ว ให้นำมาเรียงลำดับตามตัวอักษรของรายการแรก โดยเรียงตามแบบพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน โดยเรียงลำดับเอกสารอ้างอิงที่เป็นภาษาไทยก่อน แล้วจึงตามด้วยภาษาอังกฤษ
4. การลงรายชื่อผู้แต่ง มีหลักเกณฑ์ดังนี้
   4.1 ถ้าผู้แต่งมากกว่า 1 คน แต่ไม่เกิน 6 คน ให้ลงชื่อทั้งหมด ระหว่างชื่อให้คั่นด้วย Comma (,) แล้วเว้น 1 วรรค และหลังชื่อคนสุดท้ายให้ใส่ Full-stop (.) เช่น
     - ปราณี วิมณ, ศักดิ์ดา สุวิทย์, มณี ดวงแดง, ฉัตร ดีมาก, มณฤดี ศียากัลป์, และอุทิศ แสวงโชค.
     ถ้าเป็นภาษาอังกฤษ ให้ใช้ Surname ขึ้นต้น ตามด้วย Comma (,) เว้น 1 วรรค ตามด้วยอักษร ตัวใหญ่ตัวแรกของชื่อต้น ตามด้วย Full-stop (.) และถ้ามีชื่อกลางก็ให้ใช้ตัวอักษรตัวใหญ่ตัวแรกของชื่อกลาง ตามด้วย Full-stop (.) เช่น
- Smith, A. K., Jones, B. C., Bloggs, T. C., Ashe, P. T., Fauci, A. S., & Wilson, J. D.
   4.2 ถ้าผู้แต่งมากกว่า 6 คน ให้ลงชื่อถึงคนที่ 6 แล้วลงคำว่า “และคณะ” ในภาษาไทย แล้วตามด้วย Full-stop (.) เช่น
     - ปราณี วิมณ, ศักดิ์ดา สุวิทย์, มณี ดวงแดง, ฉัตร ดีมาก, มณฤดี ศียากัลป์, อุทิศ แสวงโชค, และคณะ. ถ้าเป็นภาษาอังกฤษให้ลงชื่อถึงคนที่ 6 แล้วลงคำว่า “et al” ในภาษาอังกฤษ แล้วตามด้วย Full-stop (.) โดยไม่ต้องมี And Sign (&) เช่น      - Smith, A. K., Jones, B. C., Bloggs, T. C., Ashe, P. T., Fauci, A. S., Wilson, J. D., et al.
   4.3 กรณีที่ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง ให้เลื่อนรายการชื่อเรื่องหรือรายการที่อยู่ถัดไปมาเป็นรายการแรกแทนชื่อผู้แต่ง
   4.4 ในกรณีที่วัสดุอ้างอิงมีเฉพาะชื่อบรรณาธิการ (Editor) ให้ลงชื่อผู้แต่งตามด้วย Full-stop (.) แล้วเว้น 1 วรรค และตามด้วยคำว่า “(บรรณาธิการ)” ส่วนสารนิเทศที่เป็นภาษาอังกฤษให้ใช้คำว่า “(Ed.)” หรือ “(Eds.)”
   4.5 ในกรณีที่ใช้ชื่อหน่วยงานราชการเป็นชื่อผู้แต่งหนังสือ ให้ใช้หน่วยงานระดับกรมหรือเทียบเท่าขึ้นไป ส่วนหน่วยงานตั้งแต่ระดับกองหรือเทียบเท่าลงไป ถึงแม้จะเป็นเจ้าของผลงาน ก็ให้ใช้ชื่อหน่วยงานระดับกรมหรือเทียบเท่าขึ้นไป ส่วนหน่วยงานย่อยที่เป็นเจ้าของผลงาน ให้ลงเป็นชื่อผู้รับผิดชอบในการพิมพ์ หมายเหตุ มหาวิทยาลัย เป็นหน่วยงานเทียบเท่าระดับกรม
   4.6 หน่วยงานรัฐวิสาหกิจและภาคเอกชน ให้ใช้ชื่อหน่วยงานนั้นๆ หรือบริษัท ธนาคาร ฯลฯ เป็นชื่อผู้แต่ง
   4.7 ในกรณีที่ไม่สามารถหาสารนิเทศต้นฉบับของวัสดุอ้างอิงได้ ให้ระบุสารนิเทศรอง เช่น
     - สารนิเทศต้นฉบับ คือ ทองฉัตร หงส์ทอง, 2517
     สารนิเทศรอง คือ นวลจันทร์ ผ่องอำไพ, 2542

ลงเป็น
     นวลจันทร์ ผ่องอำไพ. (2542). การศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ:
           สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
     - สารนิเทศต้นฉบับ คือ Regier, A. A., Narrow, W. E., & Rae, D. S., 1990
     สารนิเทศรอง คือ Coltheart, M., Curtis, B., Atkins, P., & Haller, M., 1993

ลงเป็น
     Coltheart, M., Curtis, B., Atkins, P., & Haller, M. (1993). Models of
           reading aloud. Psychological Review, 100(2), 589-608.



ประเภทและความสำคัญของโครงงาน คุณลักษณะของโครงงานที่ดี การศึกษาผลกระทบของโครงงาน ขั้นตอนการพัฒนาโครงงาน

การเขียนรายงานบทที่ 1 หลักการเขียนอ้างอิงของโครงงาน การจัดทำภาคผนวก การนำเสนอผลงาน